วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เค้าโครงโครงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์ กลุ่มที่ 8

สมาชิก

1. นายเจริญชัย  ธนเกียรติวงษ์ เลขที่ 7
2. นาย ศักดิธัช  คงกัลป์ เลขที่ 11
3. นาย สรรเพชร  ชื่นชอบ เลขที่ 14
ชั้น ม.5/12

วิธีดำเนินการ  

1.เลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
 2.ประชุมกันในกลุ่มเพื่อแบ่งหน้าที่ในการทำงาน และให้ทุกคนหาข้อมูลในการดำเนินงานครั้งนี้ ได้แก่
· ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการหมวกนิรภัย
· ทำแบบสอบถามกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์
· ศึกษาวิธีการทำ stop motion
·ศึกษาโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อและสร้างstop motion
3.รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไข
4.ร่างแบบเค้าโครงโครงงานอย่างคร่าวๆ
5.นำร่างเค้าโครงไปปรึกษาอาจารย์ เพื่อรับคำแนะนำและข้อควรปรับปรุง
6.นำคำแนะนำและข้อควรปรับปรุงในการทำโครงงานจากอาจารย์มาใช้ในการแก้ไขโครงงาน
7.ลงมือทำ stopmotion
8.นำเสนอโครงงานและแก้ไขพัฒนาข้อบกพร่องต่อไป

ผลการดำเนินการ

จากการที่ได้ลงมือศึกษาและทำโครงงานชิ้นนี้ทำให้พวกเราได้รับความรู้ในหลายอย่างๆ เช่น

1.รู้ถึงอันตรายของการไม่สวมหมวกนิภัย สาเหตุที่เกิดปัญหา และทำให้เกิดกระบวนการคิดในการช่วยกันคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหา
2.รู้ขั้นตอนวิธีทำstop motion และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเพิ่มรูปแบบการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนในวิชาอื่นๆให้มีความน่าสนใจมากขึ้นจากการศึกษาการทำ stopmotion
3.ได้ลงมือปฏิบัติงานจริงในการเก็บแบบสอบถาม ฝึกทักษะในด้านต่างๆได้จริง
4.ฝึกความรับผิดชอบ ความสามัคคีและการทำงานร่วมกัน

แหล่งเรียนรู้

1.ศึกษาจากเพื่อนที่มีประสบการณ์ในการทำstop motion
2.ศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆหรือช่องทางอื่น เช่น youtube เป็นต้น


หลักฐานประกอบ




อ้างอิง: https://www.youtube.com/watch?v=rH1sKp3MW0s
อ้างอิง:https://www.youtube.com/watch?v=NdYJLWbbCQM

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

power point

https://docs.google.com/presentation/d/12maWnlGP5CYT_Ek-arhAfBcOqnBtIj-qeNk2L99uMM8/edit

ถ้าไม่สวมหมวก จะเกิดอะไรขึ้น

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หมวกกันน็อค สามารถป้องกันศีรษะของผู้ขับขี่โดยอาศัยการดูดซับและถ่ายเทแรงกระแทกของวัสดุ วัสดุชั้นนอกหรือ “shell” ทำหน้าที่การป้องกันการเจาะกระแทกของวัสดุแหลมคมและป้องกันการเสียดสีอย่างแรง   โดยดูดซับแรงกระแทกขั้นต้นที่เกิดจากอุบัติเหตุ ถ้าหากคุณไม่สวมในขณะขับขี่ ให้ลองนึกภาพตาม ศีรษะของคุณจะไม่ได้รับการปกป้องใดๆเลย พอกระแทกพื้นย่อมเกิดบาดแผลหรือแตก หรืออาจถูกรถลากยาวไปหลายร้อยเมตรก็เป็นได้

หมวกกันน็อคมีวันหมดอายุจริงหรือ

โดยทั่วไปหมวกกันน็อคจะมีอายุการใช้งานเต็มที่ 3 ปี เพราะหมวกกันน็อคใช้วัสดุในการผลิตคือพลาสติก ย่อมเกิดการเสื่อมสภาพ ยิ่งเกิดการกระแทกก็จะยิ่งเสื่อมสภาพ หากครบ 3 ปี ให้รีบเปลี่ยนใหม่ เนื่องจากการเสื่อมสภาพของพลาสติกและโฟมจนไม่สามารถทนรับแรงกระแทกแทนศีรษะเราได้ และหมวกที่เคยตกเคยกระแทกมาแล้วอายุการใช้งานก็จะน้อยลงไปด้วยเช่นกัน

วิธีการดูแลรักษาหมวกกันน็อค

ห้ามแขวนหมวกกันน็อค ในขณะที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ และห้ามแขวนหมวกกันน็อคที่บนกระจกมองหลัง ห้ามนั่งบนหมวกกันน็อค หรือขว้างหมวกกันน็อค ไม่ควรนำส่วนรองรับแรงกระแทก เช่น ซับในไปตากแดดแรงๆ หรือวางใกล้ที่ที่มีความร้อนสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส หรือหลีกเลี่ยงการฉีดสเปรย์ย่าฆ่าแมลงใกล้หมวกกันกันน็อค การดูแลหมวกนิรภัยที่ไม่ดีจะมีส่วนทำลายเปลือกหมวก ส่วนรับแรงกระแทกที่สำคัญอาจมีคุณสมบัติในการปกป้องศีรษะจากอุบัติเหตุลดลงได้

การสวมหมวกที่ถูกวิธี

ความกระชับในการสวมใส่ และการมองเห็นขณะสวมใส่อย่างน้อยควรมีค่า 120 องศา เนื่องจากปกติค่ามุมมองการเห็นของตามนุษย์มีค่าระหว่าง 110-115 องศา ในต่างประเทศ หมวกกันน็อคจำเป็นต้องมีวัสดุสะท้อนแสงตามขนาดที่กำหนดติดไว้เพี่อความปลอดภัยในยามค่ำคืน

ส่วนประกอบของหมวกกันน็อค

หมวกกันน็อคที่ทำจากพลาสติกขนาดเบาราคาที่ถูกกว่าหมวกกันน็อคที่ทำจากไฟเบอร์กลาสและ kevar  แต่มีอายุการใช้งานสั้นกว่า บางครั้งมีการใส่สีลงไปในเนื้อพลาสติกหรือลวดลาย  จึงต้องระวังหากอยู่ใกล้เปลวไฟหรือน้ำมัน ส่วนวัสดุชั้นในทำจากโฟมโพลิสไตรีนที่เรียกว่า “ EPS foam “ ย่อมาจาก expanded polystyrene foam หรือเรียกว่า “ftyrofoam”   หนาประมาณ 1 นิ้ว  ชั้นโฟมนี้เป็นชิ้นส่วนสำคัญของหมวกกันน็อค   เนื่องจากโพลิสไตรีนมีสมบัติที่ไม่คืนตัวและมีการกระจายแรง   เมื่อดูดซับแรงกระแทกจึงเกิดการยุบตัว ถ้าหากยิ่งดูดซับแรงกระแทกมากเท่าไหร่   การที่แรงจะส่งแรงไปถึงศีรษะผู้สวมใส่ย่อมลดน้อยลง   นอกจากนี้ ชั้นภายในหมวกที่สัมผัสกับศีรษะอาจมีการบุผ้าหรือกำมะหยี่ไว้ภายในหมวกอีกชั้นหนึ่งเพื่อความนุ่มสบายยามสวมใส่อีกด้วย

หมวกกันน็อกชนิดต่างๆ



          แบบเต็มหน้า (Full Face)

          เป็นหมวกกันน็อกที่ออกแบบมาให้รับกับกะโหลกศีรษะของมนุษย์ ปกป้องครอบคลุมตั้งแต่ท้ายทอยไปจนถึงปลายคาง มีช่องเจาะบริเวณตาและจมูกเพื่อให้มองเห็นและหายใจได้สะดวก ปิดด้วยกระจกบังลม ซึ่งอาจมีสีที่แตกต่างกันออกไป แต่กฎหมายไทยระบุว่ากระจกบังลมต้องใสพอจะมองเห็นใบหน้าผู้ขับขี่ได้ ไม่เช่นนั้นก็อาจโดนปรับเช่นกัน นอกจากนี้ หมวกกันน็อกชนิดเต็มใบหน้ายังมีผลการวิจัยชี้ว่าสามารถปกป้องผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์มักบาดเจ็บที่บริเวณคางมากถึง 35 เปอร์เซ็นต์

          แบบออฟโร้ด, มอเตอร์ครอส (Off road, Motocross)
          หมวกกันน็อกชนิดนี้ดัดแปลงมาจากแบบเต็มหน้าเพื่อใช้ขี่แบบออฟโร้ดโดยเฉพาะ มีความปลอดภัยเช่นเดียวกับแบบเต็มหน้า โดยเพิ่มส่วนบังแดดและยืดบริเวณที่ปิดคางออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันโคลนที่ปลิวมาขณะขับขี่ แต่ได้ถอดกระจกบังลมออกเพื่อให้อากาศผ่านได้สะดวก ซึ่งผู้ขับขี่ส่วนใหญ่จะเลือกสวมแว่นตาครอบเพื่อป้องกันโคลนที่ปลิวเข้ามาด้วย

          แบบเต็มใบหรือเปิดหน้า (Open face)
          ในต่างประเทศเรียกหมวกชนิดนี้ว่าแบบ 3/4 ซึ่งก็เรียกตามรูปร่างของมันคือครอบคลุมหัวเพียง 3 ใน 4 เท่านั้น แต่เป็นหมวกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แม้ว่าจะไม่สามารถปกป้องได้ทั้งใบหน้าก็ตาม หมวกชนิดนี้ จะมีกระจกบังลมครอบทั้งใบ ซึ่งช่วยป้องกันฝุ่นและแมลงที่อาจรบกวนการขับขี่ของเราได้

          แบบโมดูลา (Modular)
          เป็นหมวกกันน็อกรูปร่างแบบเดียวกับแบบเต็มใบ แต่สามารถพับส่วนคางขึ้นมาได้ พัฒนามาจากแบบเต็มใบซึ่งไม่มีที่ปิดคาง โดยหมวกชนิดนี้ได้รับความนิยมมากในหมู่ตำรวจในต่างประเทศ เพราะสามารถเปิดบริเวณปากเพื่อพูดคุยหรือแม้กระทั่งกินอาหารได้ทันทีโดยไม่ต้องถอดหมวก และยังให้การปกป้องบริเวณคางเช่นเดียวกับแบบเต็มหน้าอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามหมวกชนิดนี้ยังมีมาตรฐาน 2 แบบได้แก่ –P ซึ่งแปลว่าออกแบบให้ปกป้องบริเวณคาง กับ –NP แปลว่าไม่ได้ออกแบบเพื่อรองรับบริเวณคางนั่นเอง

          แบบครึ่งใบ

          มีลักษณะครอบเพียงด้านบนของหัวเท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนที่หน่วยงานมาตรฐานทั้ง SNELL และ DOT กำหนดเป็นขั้นต่ำสุดสำหรับผ่านมาตรฐาน โดยหมวกชนิดนี้ได้รับความนิยมช่วงยุค 1960 ปัจจุบันหลายหน่วยงานในต่างประเทศยกเลิกมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับหมวกชนิดนี้แล้ว เนื่องจากไม่สามารถปกป้องส่วนท้ายทอยซึ่งมีความสำคัญได้

มาตรฐานของหมวกกันน็อก

 1. มาตรฐาน SNELL 2000
          เป็นมาตรฐานที่ใช้กันมากในหลายประเทศ ซึ่งได้รับการยอมรับเพราะมีการปรับปรุงมาตรฐานอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ในปัจจุบัน โดยมีทั้งการทดสอบความแข็งแรงของหมวกในลักษณะต่าง ๆ รวมถึงความสะดวกสบายในการสวมใส่ และไม่บดบังทัศนวิสัยอีกด้วย

          2. มาตรฐาน DOT (FMVSS 218)
          กำหนดขึ้นโดยสำนักงานขนส่งของประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่นิยมเช่นเดียวกับ SNELL แต่มีเกณฑ์ที่แตกต่างออกไป โดยนอกจากจะทดสอบมาตรฐานที่ตัวหมวกกันน็อกแล้ว DOT ยังดูไปถึงคุณภาพโรงงานและความสามารถในการผลิตด้วยว่าเพียงพอต่อความต้องการของตลาดหรือไม่ เพื่อที่ทุกคนจะได้มีหมวกกันน็อกใช้กันได้อย่างทั่วถึง

          3. มาตรฐาน E 2205
          มาตรฐานนี้เป็นที่นิยมมากในทวีปยุโรป โดยมีวิธีการทดสอบที่แตกต่างจากของ SNELL และ DOT โดยใช้วิธีทดสอบแรงกระแทกแบบ 3 แกนซึ่งจะมีความรุนแรงกว่ามาตรฐานอื่น ๆ ซึ่งการทดสอบนี้จะใช้กับหมวกกันน็อกที่ใช้ในการแข่งขันรถจักรยานยนต์ในยุโรป จึงทำให้มาตรฐาน E 2205 เป็นที่รู้จักและได้รับความไว้วางใจนั่นเอง

          4. มาตรฐาน JIS T 8133:2000

          เป็นมาตรฐานการทดสอบที่คิดค้นและบังคับใช้ในประเทศญี่ปุ่น โดยนำเอาจุดเด่นของมาตรฐาน DOT และ E 2205 มารวมกัน ซึ่งการทดสอบจะแบ่งออกตามประเภทของหมวก เช่น หากเป็นหมวกแบบเต็มใบก็จะทดสอบด้วยแรงกด 2 ครั้ง หรือหากเป็นแบบครึ่งใบก็จะใช้แรงเพียงครั้งเดียว เป็นต้น

          5. มาตรฐาน มอก. TIS 369-2539
          แค่ชื่อก็พอจะทำให้ทราบแล้วว่าเป็นมาตรฐานของประเทศไทยเรานั่นเอง ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่บังคับให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าหมวกกันน็อกจำหน่ายใช้งานประเทศไทยต้องยึดถือ โดยปัจจุบันได้ใช้ร่วมกับมาตรฐานนานาชาติ UNECE R22 เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานโลก

การเลือกใช้หมวกกันน็อก

การเลือกใช้หมวกกันน็อค
  1. โครงสร้างหมวก โดยทั่วไปแล้วเปลือกนอกของหมวกกันน็อคทำมาจากวัสดุ polycarbonate และ Plastic มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากราคาถูกส่วนวัสดุ Carbon Fiber, Carbon Kevlar, Fiberglass นั้นจะมีราคาแพงจึงจะถูกใช้เป็นโครงสร้างหมวกที่มีคุณภาพสูงและราคาแพงตามไปด้วย
  2. ฉนวนหุ้มศีรษะ (Liner) เลือกที่ถอดและเปลี่ยน Liner ข้างในได้ เมื่อเราใช้ไปนานๆ สัก 2 ปีขึ้นไป Liner ย่อมบางลงไปจึงควรจะเปลี่ยนเพื่อให้กระชับขึ้นมา Liner  ด้านในควรนุ่มสบาย ควรถอดเปลี่ยนและทำความสะอาดได้ เพราะการสวมใส่หมวกกันน็อคนั้นมีความอับชิ้นสูง อาจจะมีกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้น
  3. วัสดุช่วยลดแรงกระแทก (Expandable Polystyrene,EP8) ส่วนใหญ่เป็นโฟมอยู่ด้านใน Liner บางยี่ห้อเป็นแผ่นโฟมทั้งแผ่น บางยี่ห้อทำโฟมเป็นร่องเพื่อลดแรงกระแทก แต่สุดท้ายมันก็คือโฟมซึ่งสามารถแตกหักได้เสมอและมีการเสื่อมสภาพ นั้นคือเหตุผลที่สำคัญว่าทำไมเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นหรือมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เราจึงจำเป็นต้องมีหมวกกันน็อคใหม่
  4. ขนาดและความพอดี ควรทดลองสวมดูก่อนซื้อ แม้ว่าจะรู้ขนาดของศีรษะตัวเองแล้วก็ตาม หมวกต้องกระชับพอดี ไม่หลวมเมื่อคาดสายรัดคางแล้ว (ควรบีบบนิดหน่อย เพราะใช้ไปสักพักฟองน้ำที่แก้มจะยุบตัวตามขนาดศีรษะ) ทดลองหันซ้ายขวาดู ทดลองหันซ้ายขวาดู ทดลองเอามือผลักหมวกดูว่าหัวเรากับหมวก หันไปด้วยกันหรือเปล่า ถ้าหันไปตามมือเฉพาะหมวก ก็แสดงว่าไม่พอดี ที่ต้องย้ำว่าต้องฟิตพอดีเพราะ หากเกิดอุติเหตุจริงๆ หมวกที่พอดีกับหัวของเราจะไม่มีช่องว่าง ให้หัวขยับได้ แรงกระแทกจะซึมซับได้ดีกว่า
  5. มาตรฐานการรับรอง โดยทั่วไปมาตรฐานต่างๆ จะปิดโชว์ที่ขอบ ๆ หมวกกันน็อค  มาตรฐานความปลอดภัย สำหรับหมวกกันน็อคที่ใช้ในการขับขี่มอเตอร์ไซต์บนท้องถนนโดยตรง คือ D.O.T เป็นมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรฐานอื่นๆได้แก่ SNELL ของญี่ปุ่น ECE R22.05 เป็นสหภาพยุโรป (EU) ส่วน มอก. มาตรฐานของไทยนั้นกำลังจะปรับเปลี่ยนเป็นมาตรฐาน ECE R22.05 ให้สากลมากขึ้น
  6. อื่นๆ ควรเลือกหมวกกันน็อคที่มีช่องระบายลม และควรเปิดใช้งานบ้างเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรจะเลือกกระบังลมที่เป็นแบบ Anti-fog (กันฝ้า) ก็จะดีมาก สายรัดคางควรจะเป็นแบบร้อยห่วงกลับจะดีกว่าแบบอื่น แบบคลิปล็อคอาจมีโอกาสหลุดได้

การใช้ ulead studio 11 เบื้อต้น


เทคนิคสตอปโมชัน

สตอปโมชัน (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)  

สตอปโมชัน (Stop motion) เป็นแอนิเมชันที่อะนิเมะเตอร์ต้องสร้างส่วน ประกอบต่างๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล และยังต้องยอมเมื่อยมือ ขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิดๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรมๆ 

เทคนิค

สต็อปโมชั่นมีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น
  • เคลย์แอนิเมชัน (Clay animation –เรียกย่อๆ ว่า เคลย์เมชั่น / claymation)
คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้
  • คัตเอาต์แแอนิเมชัน (Cutout animation)
สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ 2 มิติ (เช่น กระดาษ, ผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย
  • กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)
เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่างๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้
  • โมเดลแอนิเมชัน (Model animation)
คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและแบ็คกราวด์เหมือนจริง
  • แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)
ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว
  • พิกซิลเลชั่น (Pixilation)
เป็นสต็อปโมชั่นที่ใช้คนจริงๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง หุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ค่านิยม 12 ประการ

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
 
1.1 เป็นพลเมืองดีของชาติ เช่น ยืนตรงเคารพธงชาติ  ร้องเพลงชาติ
  1.2 ธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย เช่น เข้าร่วม ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมที่สร้างความสามัคคี ปรองดองที่เป็นประโยชน์ต่อ โรงเรียน ชุมชนและสังคม
  1.3ศรัทธา ยึดมั่น ปฏิบัติตนตามหลักของศาสนา เช่น เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่ตนเองนับถือ และปฏิบัติตนตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ
  1.4 เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น มีส่วนร่วมหรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 
 
 2.1 ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองทั้งทายกาย วาจา ใจ เช่น ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงปราศจากความลำเอียง  และปฏิบัติตนโดยคำนึงถึงความถูกต้องละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิดและปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา
   2.2  ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทายกาย วาจา ใจ เช่น ไม่ถือเอาสิ่งของหรือผลงานของผู้อืนมาเป็นของตนเอง  ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรงและไม่หาประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 
  
 3.1  ปฏิบัติตามข้อตกลง  กฎเกณฑ์  ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว  โรงเรียน  และสังคม เช่น ปฏิบัติตามข้อตกลง  กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว  โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  และตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันและรับผิดชอบในการทำงาน
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
 

 4.1   ตั้งใจเพียรพยายามในการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น ตั้งใจเรียน  เอาใจใส่และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้  และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ

   4.2   แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน  ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหม่ะสม  บันทึกความรู้ วิเคราะห์สรุปเป็นองค์ความรู้  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น  ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือ  เอกสาร  สิ่งพิมพ์  สื่อ  เทคโนโลยีต่างๆ  แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม  บันทึกความรู้  วิเคราะห์  ตรวจสอบจากสิ่งที่เรียนรู้  สรุปเป็นองค์ความรู้  และแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
 
  5.1 ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี  ศิลปะ  วัฒนธรรมไทยและมีความกตัญญูกตเวที เช่น แต่งกายและมีมารยาทงดงามแบบไทย  มีสัมมาคารวะ   กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ  ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย  และชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นตามขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย
    5.2 เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น ใช้ภาษาไทยและเลขไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
    5.3 อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย เช่น  นำภูมิปัญญาไทยมาใช้ให้เหมาะสมในวิถีชีวิต ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทยและแนะนำ มีส่วนร่วมในการสืบทอดภูมิปัญญาไทย
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
 9.1  ตั้งใจและรับผิดชอบ มีสติ คิดรอบคอบ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน เช่น  เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จ  และปรับปรุงและพัฒนาการทำงานด้วยตนเอง
    9.2   ทำงานด้วยความเพียรพยายามและอดทนเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น  ทุ่มเททำงาน  อดทน ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน พยายามแก้ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานให้สำเร็จ และชื่นชมผลงานด้วยความภาคภูมิใจ

10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี 

    10.1  ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ  มีเหตุผล  รอบคอบ  มีคุณธรรม เช่น ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เช่น  เงิน  สิ่งของ เครื่องใช้  ฯลฯ  อย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี รวมทั้งการใช้เวลาอย่างเหมาะสม  ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด  คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี  ปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ มีเหตุผลและไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน  พร้อมให้อภัยเมื่อผู้อื่นกระทำผิด
    10.2 มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เช่น วางแผนการเรียน การทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้  ข้อมูล ข่าวสารและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม ยอมรับและปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา 

12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

12.1 ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจและพึงพอใจโดยไม่หวังผลตอบแทน เช่น ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูทำงานด้วความเต็มใจ  อาสาทำงานให้ผู้อื่นด้วยกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญาโดยไม่หวังผลตอบแทนและแบ่งปันสิ่งของ  ทรัพย์สิน และอื่นๆและช่วยแก้ปัญหาหรือสร้างความสุขให้กับผู้อื่น
  12.2 เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม เช่น ดูแลรักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อมด้วยความเต็มใจ  เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม และเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างสิ่งที่ดีงามของส่วนรวมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความกระตือรือร้น

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ตัวดำเนินการ ภาษาซี

ภาษาซีรองรับตัวดำเนินการหลายประเภท ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในนิพจน์เพื่อระบุการจัดการที่จะถูกทำให้เกิดผล ระหว่างการประเมินค่าของนิพจน์นั้น ภาษาซีมีตัวดำเนินการต่อไปนี้

การใช้งานภาษาซี

การเขียนโปรแกรมระบบเป็นการใช้งานหลักของภาษาซี ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ระบบฝังตัว เนื่องจากลักษณะเฉพาะอันเป็นที่ต้องการถูกรวมเข้าไว้ด้วยกัน อย่างเช่น ความสามารถในเคลื่อนย้ายได้กับประสิทธิภาพของรหัสต้นฉบับ ความสามารถในการเข้าถึงที่อยู่ของฮาร์ดแวร์ที่ระบุ ความสามารถเรื่อง type punning เพื่อให้เข้ากับความต้องการการเข้าถึงข้อมูลที่กำหนดไว้จากภายนอก และความต้องการทรัพยากรระบบขณะทำงานต่ำ ภาษาซีสามารถใช้เขียนโปรแกรมเว็บไซต์โดยใช้ซีจีไอเป็น "เกตเวย์" เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างเว็บแอปพลิเคชัน เซิร์ฟเวอร์ และเบราว์เซอร์ [16] ปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เลือกภาษาซีแทนที่จะเป็นภาษาอินเทอร์พรีตเตอร์ คือความเร็ว เสถียรภาพ และความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมของการดำเนินงาน เนื่องจากเป็นธรรมชาติของภาษาคอมไพเลอร์ [17]
ผลจากการยอมรับในระดับกว้างขวางและประสิทธิภาพของภาษาซี ทำให้ตัวแปลโปรแกรม ตัวแปลคำสั่ง ไลบรารีต่าง ๆ ของภาษาอื่น มักพัฒนาขึ้นด้วยภาษาซี ตัวอย่างเช่น ตัวแปลโปรแกรมภาษาไอเฟลหลายโปรแกรมส่งข้อมูลออกเป็นรหัสภาษาซีเป็นภาษากลาง เพื่อส่งต่อให้ตัวแปลโปรแกรมภาษาซีต่อไป การพัฒนาสายหลักของภาษาไพทอน ภาษาเพิร์ล 5 และภาษาพีเอชพี ทั้งหมดถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาซี
ภาษาซีมีประสิทธิภาพสำหรับคอมพิวเตอร์เพื่องานคำนวณและวิทยาศาสตร์ เนื่องจากความสิ้นเปลืองต่ำ ธรรมชาติของภาษาระดับต่ำ ธรรมชาติของภาษาที่ถูกแปล และมีส่วนคณิตศาสตร์ที่ดีในไลบรารีมาตรฐาน ตัวอย่างของการใช้ภาษาซีในงานคำนวณและวิทยาศาสตร์ เช่นจีเอ็มพี ไลบรารีวิทยาศาสตร์ของกนู แมเทอแมติกา แมตแล็บ และแซส
ภาษาซีบางครั้งใช้เป็นภาษาระหว่างกลางในการทำให้เกิดผลของภาษาอื่น แนวคิดนี้อาจใช้เพื่อความสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย โดยให้ภาษาซีเป็นภาษาระหว่างกลาง ซึ่งไม่จำเป็นต้องพัฒนาตัวสร้างรหัสแบบเจาะจงเครื่อง ตัวแปลโปรแกรมที่ใช้ภาษาซีในทางนี้เช่น บิตซี แกมบิต จีเอชซี สควีก และวาลา เป็นต้น อย่างไรก็ตามภาษาซีถูกออกแบบมาเพื่อเป็นภาษาเขียนโปรแกรม ไม่ใช่ภาษาเป้าหมายของตัวแปลโปรแกรม จึงเหมาะสมน้อยกว่าสำหรับการใช้เป็นภาษาระหว่างกลาง ด้วยเหตุผลนี้นำไปสู่การพัฒนาภาษาระหว่างกลางที่มีพื้นฐานบนภาษาซีเช่น ภาษาซีไมนัสไมนัส
ผู้ใช้ขั้นปลายใช้ภาษาซีอย่างแพร่หลายเพื่อสร้างแอปพลิเคชันของผู้ใช้เอง แต่เมื่อแอปพลิเคชันใหญ่ขึ้น การพัฒนาเช่นนั้นมักจะย้ายไปทำในภาษาอื่นที่พัฒนามาด้วยกัน เช่นภาษาซีพลัสพลัส ภาษาซีชาร์ป ภาษาวิชวลเบสิก เป็นต้น

คุณลักษณะที่ขาดหายไปของ ภาษาซี

ธรรมชาติของภาษาในระดับต่ำช่วยให้โปรแกรมเมอร์ควบคุมสิ่งที่คอมพิวเตอร์กระทำได้อย่างใกล้ชิด ในขณะที่อนุญาตให้มีการปรับแต่งพิเศษและการทำให้เหมาะที่สุดสำหรับแพลตฟอร์มหนึ่งใดโดยเฉพาะ สิ่งนี้ทำให้รหัสสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบนฮาร์ดแวร์ที่มีทรัพยากรจำกัดมาก ๆ ได้เช่นระบบฝังตัว
ภาษาซีไม่มีคุณลักษณะบางอย่างที่มีในภาษาอื่นอาทิ

ลักษณะเฉพาะของภาษาซี

ภาษาซีมีสิ่งอำนวยสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง และสามารถกำหนดขอบข่ายตัวแปรและเรียกซ้ำ เช่นเดียวกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในสายตระกูลภาษาอัลกอล ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรแบบอพลวัตช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ได้ตั้งใจ รหัสที่ทำงานได้ทั้งหมดในภาษาซีถูกบรรจุอยู่ในฟังก์ชัน พารามิเตอร์ของฟังก์ชันส่งผ่านด้วยค่าของตัวแปรเสมอ ส่วนการส่งผ่านด้วยการอ้างอิงจะถูกจำลองขึ้นโดยการส่งผ่านค่าตัวชี้ ชนิดข้อมูลรวมแบบแตกต่าง (struct) ช่วยให้สมาชิกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันสามารถรวมกันและจัดการได้ในหน่วยเดียว รหัสต้นฉบับของภาษาซีเป็นรูปแบบอิสระ ซึ่งใช้อัฒภาค (;) เป็นตัวจบคำสั่ง (มิใช่ตัวแบ่ง)
ภาษาซียังมีลักษณะเฉพาะต่อไปนี้เพิ่มเติม
  • ตัวแปรอาจถูกซ่อนในบล็อกซ้อนใน
  • ชนิดตัวแปรไม่เคร่งครัด เช่นข้อมูลตัวอักษรสามารถใช้เป็นจำนวนเต็ม
  • เข้าถึงหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ในระดับต่ำโดยแปลงที่อยู่ในเครื่องด้วยชนิดตัวแปรตัวชี้ (pointer)
  • ฟังก์ชันและตัวชี้ข้อมูลรองรับการทำงานในภาวะหลายรูปแบบ (polymorphism)
  • การกำหนดดัชนีแถวลำดับสามารถทำได้ด้วยวิธีรอง คือนิยามในพจน์ของเลขคณิตของตัวชี้
  • ตัวประมวลผลก่อนสำหรับการนิยามแมโคร การรวมไฟล์รหัสต้นฉบับ และการแปลโปรแกรมแบบมีเงื่อนไข
  • ความสามารถที่ซับซ้อนเช่น ไอ/โอ การจัดการสายอักขระ และฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ รวมอยู่ในไลบรารี
  • คำหลักที่สงวนไว้มีจำนวนค่อนข้างน้อย
  • ตัวดำเนินการแบบประสมจำนวนมาก อาทิ +=-=*=++ ฯลฯ
โครงสร้างการเขียน คล้ายภาษาบีมากกว่าภาษาอัลกอล ตัวอย่างเช่น
  • ใช้วงเล็บปีกกา { ... } แทนที่จะเป็น begin ... end ในภาษาอัลกอล 60 หรือวงเล็บโค้ง ( ... ) ในภาษาอัลกอล 68
  • เท่ากับ = ใช้สำหรับกำหนดค่า (คัดลอกข้อมูล) เหมือนภาษาฟอร์แทรน แทนที่จะเป็น := ในภาษาอัลกอล
  • เท่ากับสองตัว == ใช้สำหรับเปรียบเทียบความเท่ากัน แทนที่จะเป็น .EQ. ในภาษาฟอร์แทรนหรือ = ในภาษาเบสิกและภาษาอัลกอล
  • ตรรกะ "และ" กับ "หรือ" แทนด้วย && กับ || ตามลำดับ แทนที่จะเป็นตัวดำเนินการ ∧ กับ ∨ ในภาษาอัลกอล แต่ตัวดำเนินการดังกล่าวจะไม่ประเมินค่าตัวถูกดำเนินการทางขวา ถ้าหากผลลัพธ์จากทางซ้ายสามารถพิจารณาได้แล้ว เหตุการณ์เช่นนี้เรียกว่าการประเมินค่าแบบลัดวงจร (short-circuit evaluation) และตัวดำเนินการดังกล่าวก็มีความหมายต่างจากตัวดำเนินการระดับบิต & กับ |