วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เค้าโครงโครงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์ กลุ่มที่ 8

สมาชิก

1. นายเจริญชัย  ธนเกียรติวงษ์ เลขที่ 7
2. นาย ศักดิธัช  คงกัลป์ เลขที่ 11
3. นาย สรรเพชร  ชื่นชอบ เลขที่ 14
ชั้น ม.5/12

วิธีดำเนินการ  

1.เลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
 2.ประชุมกันในกลุ่มเพื่อแบ่งหน้าที่ในการทำงาน และให้ทุกคนหาข้อมูลในการดำเนินงานครั้งนี้ ได้แก่
· ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการหมวกนิรภัย
· ทำแบบสอบถามกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์
· ศึกษาวิธีการทำ stop motion
·ศึกษาโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อและสร้างstop motion
3.รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไข
4.ร่างแบบเค้าโครงโครงงานอย่างคร่าวๆ
5.นำร่างเค้าโครงไปปรึกษาอาจารย์ เพื่อรับคำแนะนำและข้อควรปรับปรุง
6.นำคำแนะนำและข้อควรปรับปรุงในการทำโครงงานจากอาจารย์มาใช้ในการแก้ไขโครงงาน
7.ลงมือทำ stopmotion
8.นำเสนอโครงงานและแก้ไขพัฒนาข้อบกพร่องต่อไป

ผลการดำเนินการ

จากการที่ได้ลงมือศึกษาและทำโครงงานชิ้นนี้ทำให้พวกเราได้รับความรู้ในหลายอย่างๆ เช่น

1.รู้ถึงอันตรายของการไม่สวมหมวกนิภัย สาเหตุที่เกิดปัญหา และทำให้เกิดกระบวนการคิดในการช่วยกันคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหา
2.รู้ขั้นตอนวิธีทำstop motion และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเพิ่มรูปแบบการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนในวิชาอื่นๆให้มีความน่าสนใจมากขึ้นจากการศึกษาการทำ stopmotion
3.ได้ลงมือปฏิบัติงานจริงในการเก็บแบบสอบถาม ฝึกทักษะในด้านต่างๆได้จริง
4.ฝึกความรับผิดชอบ ความสามัคคีและการทำงานร่วมกัน

แหล่งเรียนรู้

1.ศึกษาจากเพื่อนที่มีประสบการณ์ในการทำstop motion
2.ศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆหรือช่องทางอื่น เช่น youtube เป็นต้น


หลักฐานประกอบ




อ้างอิง: https://www.youtube.com/watch?v=rH1sKp3MW0s
อ้างอิง:https://www.youtube.com/watch?v=NdYJLWbbCQM

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

power point

https://docs.google.com/presentation/d/12maWnlGP5CYT_Ek-arhAfBcOqnBtIj-qeNk2L99uMM8/edit

ถ้าไม่สวมหมวก จะเกิดอะไรขึ้น

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หมวกกันน็อค สามารถป้องกันศีรษะของผู้ขับขี่โดยอาศัยการดูดซับและถ่ายเทแรงกระแทกของวัสดุ วัสดุชั้นนอกหรือ “shell” ทำหน้าที่การป้องกันการเจาะกระแทกของวัสดุแหลมคมและป้องกันการเสียดสีอย่างแรง   โดยดูดซับแรงกระแทกขั้นต้นที่เกิดจากอุบัติเหตุ ถ้าหากคุณไม่สวมในขณะขับขี่ ให้ลองนึกภาพตาม ศีรษะของคุณจะไม่ได้รับการปกป้องใดๆเลย พอกระแทกพื้นย่อมเกิดบาดแผลหรือแตก หรืออาจถูกรถลากยาวไปหลายร้อยเมตรก็เป็นได้

หมวกกันน็อคมีวันหมดอายุจริงหรือ

โดยทั่วไปหมวกกันน็อคจะมีอายุการใช้งานเต็มที่ 3 ปี เพราะหมวกกันน็อคใช้วัสดุในการผลิตคือพลาสติก ย่อมเกิดการเสื่อมสภาพ ยิ่งเกิดการกระแทกก็จะยิ่งเสื่อมสภาพ หากครบ 3 ปี ให้รีบเปลี่ยนใหม่ เนื่องจากการเสื่อมสภาพของพลาสติกและโฟมจนไม่สามารถทนรับแรงกระแทกแทนศีรษะเราได้ และหมวกที่เคยตกเคยกระแทกมาแล้วอายุการใช้งานก็จะน้อยลงไปด้วยเช่นกัน

วิธีการดูแลรักษาหมวกกันน็อค

ห้ามแขวนหมวกกันน็อค ในขณะที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ และห้ามแขวนหมวกกันน็อคที่บนกระจกมองหลัง ห้ามนั่งบนหมวกกันน็อค หรือขว้างหมวกกันน็อค ไม่ควรนำส่วนรองรับแรงกระแทก เช่น ซับในไปตากแดดแรงๆ หรือวางใกล้ที่ที่มีความร้อนสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส หรือหลีกเลี่ยงการฉีดสเปรย์ย่าฆ่าแมลงใกล้หมวกกันกันน็อค การดูแลหมวกนิรภัยที่ไม่ดีจะมีส่วนทำลายเปลือกหมวก ส่วนรับแรงกระแทกที่สำคัญอาจมีคุณสมบัติในการปกป้องศีรษะจากอุบัติเหตุลดลงได้

การสวมหมวกที่ถูกวิธี

ความกระชับในการสวมใส่ และการมองเห็นขณะสวมใส่อย่างน้อยควรมีค่า 120 องศา เนื่องจากปกติค่ามุมมองการเห็นของตามนุษย์มีค่าระหว่าง 110-115 องศา ในต่างประเทศ หมวกกันน็อคจำเป็นต้องมีวัสดุสะท้อนแสงตามขนาดที่กำหนดติดไว้เพี่อความปลอดภัยในยามค่ำคืน

ส่วนประกอบของหมวกกันน็อค

หมวกกันน็อคที่ทำจากพลาสติกขนาดเบาราคาที่ถูกกว่าหมวกกันน็อคที่ทำจากไฟเบอร์กลาสและ kevar  แต่มีอายุการใช้งานสั้นกว่า บางครั้งมีการใส่สีลงไปในเนื้อพลาสติกหรือลวดลาย  จึงต้องระวังหากอยู่ใกล้เปลวไฟหรือน้ำมัน ส่วนวัสดุชั้นในทำจากโฟมโพลิสไตรีนที่เรียกว่า “ EPS foam “ ย่อมาจาก expanded polystyrene foam หรือเรียกว่า “ftyrofoam”   หนาประมาณ 1 นิ้ว  ชั้นโฟมนี้เป็นชิ้นส่วนสำคัญของหมวกกันน็อค   เนื่องจากโพลิสไตรีนมีสมบัติที่ไม่คืนตัวและมีการกระจายแรง   เมื่อดูดซับแรงกระแทกจึงเกิดการยุบตัว ถ้าหากยิ่งดูดซับแรงกระแทกมากเท่าไหร่   การที่แรงจะส่งแรงไปถึงศีรษะผู้สวมใส่ย่อมลดน้อยลง   นอกจากนี้ ชั้นภายในหมวกที่สัมผัสกับศีรษะอาจมีการบุผ้าหรือกำมะหยี่ไว้ภายในหมวกอีกชั้นหนึ่งเพื่อความนุ่มสบายยามสวมใส่อีกด้วย